slide
slide1
slide2
slide4
slide5
slide6
slide7
slide8
slide9

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

 

มุมเจ้าหน้าที่

เว็บไซต์ในเครือข่าย

ลิงค์ที่น่าสนใจ

จำนวนผู้เข้าชม

8720332
วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
สัดาห์ก่อน
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
All days
890
1094
2896
8707041
40864
39900
8720332
Your IP: 18.222.182.107
Server Time: 2025-04-29 14:42:02

โครงสร้างและอำนาจหน้าที่

 

 

 

 

ภารกิจอำนาจหน้าที่ของเทศบาล

 

 

มาตรา 50 เทศบาลตำบลมีหน้าที่ต้องทำในเขตเทศบาลดังต่อไปนี้

 

(1) รักษาความสงบเรียบร้อย การดูแลการจราจร และส่งเสริม สนับสนุนหน่วยงานอื่นในการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว

(2) ให้มีการบำรุงทางบกและทางน้ำ

(3) รักษาความสะอาดของถนนหรือทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งการกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล

(4) ป้องกันและระงับโรคติดต่อ

(5) ให้มีเครื่องใช้ในการดับเพลิง

(6) ให้ราษฎรได้รับการศึกษาอบรม

(7) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ

(8) บำรุงศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น

(9) หน้าที่อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นหน้าที่ของเทศบาล

 

   การปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ของเทศบาลต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนโดยใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีและให้คำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาเทศบาลและการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ทั้งที่ ให้เป็นไปตามกฎหมายระเบียบ ข้อบังคับด้วยการนั้น และหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด

 

 

มาตรา 51 เทศบาลอาจจัดทำกิจการใดๆ ในเขตเทศบาล ดังต่อไปนี้

 

(1) ให้มีน้ำสะอาดหรือประปา

(2) ให้มีโรงฆ่าสัตว์

(3) ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือหรือท่าข้าม

(4) ให้มีสุสานและฌาปนสถาน

(5) บำรุงและส่งเสริมการทำมาหากินของราษฎร

(6) ให้มีและบำรุงสถานที่ที่ทำการพิทักษ์รักษาคนเจ็บไข้

(7) ให้มีและการบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น

(8) ให้มีและบำรุงทางระบายน้ำ

(9) เทศพาณิชย์

 

ภารกิจอำนาจหน้าที่ของเทศบาลตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการ

กระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542

มาตรา 16 ให้เทศบาล เมืองพัทยา และองค์การบริหารส่วนตำบล มีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเอง ดังนี้

การบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเอง ดังนี้

 

(1)  การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง

(2)  การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ

(3)  การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ

(4)  การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่น ๆ

(5)  การสาธารณูปการ

(6)  การส่งเสริม การฝึก และการประกอบอาชีพ

(7)  การพาณิชย์ และการส่งเสริมการลงทุน

(8)  การส่งเสริมการท่องเที่ยว

(9)  การจัดการศึกษา

(10) การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชราและผู้ด้อยโอกาส

(11) การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น

(12) การปรับปรุงแหล่งชุมชนและแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย

(13) การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ

(14) การส่งเสริมกีฬา

(15) การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน

(16) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น

(17) การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง

(18) การกำจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย

(19) การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล

(20) การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน

(21) การควบคุมการเลี้ยงสัตว์

(22) การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์

(23) การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัย โรงมหรสพและสาธารณสถานอื่น ๆ

(24) การจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ที่ดินทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

(25) การงเมือง

(26) การขนส่งและการวิศวกรรมจราจร

(27) การดูแลรักษาที่สาธารณะ

(28) การควบคุมอาคาร

(29) การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

(30) การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและการสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

(31) กิจการอื่นใดที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด

 

ภารกิจหลักและภารกิจรองที่เทศบาลจะดำเนินการ

 

1. ด้านโครงสร้างพื้นฐาน

 

ภารกิจหลัก

(1) พัฒนาปรับปรุงเส้นทางคมนาคมภายในเขตเทศบาลให้ได้มาตรฐาน และมีโครงสร้างเชื่อมโยงกันอย่างเป็น

    ระบบเช่น ถนน สะพาน รางระบายน้ำ

(2) จัดวางระบบผังเมืองรวมในชุมชน ให้สามารถรับการเจริญของชุมชนภายในอนาคตจำแนกโซนการใช้ที่ดิน

    แต่ละประเภท เช่น แหล่งเกษตรกรรม แหล่งพาณิชยกรรมแหล่งอุตสาหกรรม แหล่งที่อยู่อาศัย แหล่งประกอบการด้านปศุสัตว์

(3) พัฒนาปรับปรุงระบบไฟฟ้าสาธารณะ ให้ครบคลุมทุกพื้นที่ในเขตเทศบาล อย่างเป็นระบบและได้มาตรฐาน 

    โดยเฉพาะถนนสายหลักและตรอกซอยต่างๆ ในเขตเทศบาล

 

ภารกิจรอง

(1) พัฒนาปรับปรุงแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร

(2) พัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค ให้มีปริมาณน้ำเพียงพอต่อความต้องการของประชาชน

(3) ก่อสร้างระบบระบายน้ำภายในชุมชนให้ได้มาตรฐานและสามารถระบายน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ

(4) ปรับปรุงระบบการจราจรให้ได้มาตรฐาน สร้างวินัยจราจรให้ประชาชนในท้องถิ่น

 

2.    ด้านส่งเสริมคุณภาพชีวิต

 

ภารกิจหลัก

 (1) เสริมสร้างคุณภาพชีวิตให้กับประชาชน จัดการสาธารณสุขมูลฐานให้ทั่วถึง

(2) ปัญหาด้านยาเสพติดในชุมชน

(3) สนับสนุนด้านสวัสดิการ พัฒนาคุณภาพชีวิต ผู้ด้อยโอกาสในสังคม

(4) พัฒนาปรับปรุงกิจการโรงงานฆ่าสัตว์ ให้ได้มาตรฐาน

(5) สนับสนุนส่งเสริมให้หน่วยงาน องค์การ ชุมชน และประชาชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาสังคม

(6) ดูแลจัดการด้านสวัสดิการแก่ชุมชน เช่น คนชรา เด็ก ผู้ติดเชื้อเอดส์

(7) พัฒนาปรับปรุงด้านสุสาน ฌาปนสถานให้ได้มาตรฐาน

 

ภารกิจรอง

(1) ส่งเสริมการกีฬาให้กลุ่มเยาวชนได้มีการใช้เวลาว่างท้ากิจกรรมที่เป็นประโยชน์

(2) สนับสนุนส่งเสริมด้านการศึกษาของเยาวชน ประชาชน ในท้องถิ่นทั้งในระบบและนอกระบบโรงเรียน

 

3.     ด้านการจัดระเบียบชุมชน สังคม และการรักษาความสงบเรียบร้อย

 

ภารกิจหลัก

(1) การรักษาความสะอาด ความเป็นระเบียบเรียบร้อยของชุมชน

(2) พัฒนาปรับปรุงด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

(3) ส่งเสริม วางแผน จัดการด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน

(4) ควบคุมดูแล การประกอบกิจการตลาดให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุขพ.ศ.2535 อย่างเคร่งครัด

 

ภารกิจรอง

(1) รณรงค์ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดระเบียบภายในชุมชน

 

4.  ด้านการวางแผน การส่งเสริมการลงทุน พาณิชยกรรมและการท่องเที่ยว

 

ภารกิจหลัก

(1)  พัฒนาส่งเสริมอาชีพให้กลุ่มอาชีพต่างๆ สนับสนุนการรวมกลุ่มอาชีพต่างๆ ส่งเสริมด้านการผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร

(2)  สนับสนุนด้านการพาณิชย์ ส่งเสริมการลงทุน

 

ภารกิจรอง

(1)  พัฒนาและปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยว

 

5. ด้านการบริหารจัดการ และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

 

ภารกิจหลัก

(1) การกำจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย เช่น จัดหาสถานที่ทิ้งขยะถาวรศึกษาวิธีการกำจัดขยะ ให้เหมาะสมกับศักยภาพของเทศบาล

(2) การจัดการบำรุงรักษาการใช้ประโยชน์ในที่ดิน การดูแลรักษาที่ดินสาธารณะประโยชน์

(3) การจัดให้มีสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ

(4) พัฒนาปรับปรุงด้านสุสาน ฌาปนสถานให้ได้มาตรฐาน

 

ภารกิจรอง

(1) รวบรวมส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

 

6.  ด้านศาสนา ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น

 

ภารกิจหลัก

(1) สนับสนุนส่งเสริมการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น

(2) สนับสนุนส่งเสริมให้มีการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น แก่เยาวชนและผู้ที่สนใจ

 

ภารกิจรอง

(1) สนับสนุนช่วยเหลืองานกิจกรรมประเพณีที่ชุมชนเป็นผู้จัด

 

7. ด้านการบริหารและการสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจของส่วนราชการ

   และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

 

ภารกิจหลัก

(1) สนับสนุนส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาคและสิทธิเสรีภาพของประชาชน

 

ภารกิจรอง

(1) สนับสนุนส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น

วิสัยทัศน์และนโยบาย

คำแถลงนโยบาย 

 

     ของ นายนิพิธพนธ์  เตียประพงษ์ นายกเทศมนตรีตำบลสีดา  

 

"สีดาเมืองน่าอยู่  สาธารณูปโภคดี  เศรษฐกิจมั่นคง  ประชาชนมีสุขแบบยั่งยืน”

 


 

1. ด้านโครงสร้างพื้นฐาน

 

                1.1 ดูแลไฟฟ้าสาธารณะตามแนวถนน ตรอก ซอย ปรับปรุงไฟฟ้าส่องสว่างเพื่อ

ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินพี่น้องประชาชน

                1.2 ดูแล ปรับปรุง  รางระบายน้ำเพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดี

                1.3 ปรับปรุง ซ่อมแซมถนนที่ชำรุดให้ได้มาตรฐานและมีสภาพใช้งานได้

                1.4 ปรับปรุงระบบประปา เพื่อให้น้ำประปามีคุณภาพและสามารถให้บริการได้

อย่างทั่วถึงทั้งเขตเทศบาล 

 

2.  ด้านการศึกษา

                 2.1  ส่งเสริมการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลสีดา

                 2.2  สนับสนุนงบประมาณ  ด้านอุปกรณ์การศึกษาให้เพียงพอ

                 2.3  สนับสนุนค่าอาหารกลางวันสำหรับเด็กเล็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาล

ตำบลสีดา  สนับสนุนอาหารเสริม(นม) ให้แก่ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลสีดา โรงเรียน

บ้านโนนสัง  โรงเรียนบ้านสีดา

                 2.4  เตรียมความพร้อมของเด็กก่อนเข้าสู่วัยเรียนของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

เทศบาลตำบลสีดา

                 2.5  ส่งเสริมการกีฬาและนันทนาการให้ครอบคลุมพร้อมสนับสนุนอุปกรณ์การ

กีฬาให้กับทุกชุมชนเพื่อต่อต้านและแก้ไขปัญหายาเสพติด

 

3.  ด้านสาธารณสุข

                3.1  จัดให้มีถังขยะที่เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน

                3.2  จัดระบบขยะมูลฝอยให้เป็นไปตามมาตรฐานสิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัย 

                3.3  รณรงค์ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าและโรคติดต่ออื่นๆในเขตเทศบาล 

                3.4  ส่งเสริมและสนับสนุนภารกิจอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน (อสม.) 

 

4.  ด้านศิลปะ วัฒนธรรมประเพณี และภูมิปัญญา

                4.1  ส่งเสริม สนับสนุนวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของชาติ ศาสนา วันสำคัญ

ของชาติ  ประเพณีของชาวพุทธ สนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนให้

มีความเข้มแข็ง

                4.2  ส่งเสริม สนับสนุนกิจกรรมเพื่อปลูกฝังให้คณะผู้บริหาร พนักงานเทศบาล

ลูกจ้างพนักงานจ้าง เล็งเห็นความสำคัญของชาติ ศาสนา และเคารพซึ่งสถาบันพระมหา

กษัตริย์เพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีแก่ประชาชน

                4.3  ส่งเสริม สนับสนุนวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นให้คงอยู่สืบไป

 

5.  ด้านเศรษฐกิจและสังคม

 

                        5.1  รณรงค์และสนับสนุนให้ความร่วมมือกับหน่วยงาน องค์กรภาครัฐและ

ประชาชนในการรักษาความเรียบร้อยและปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนโดยการ

จัดหางบประมาณในการติดตั้งกล้องวงจรปิดตามจุดพื้นที่เสี่ยงภัยให้มากขึ้น

                5.2  จัดให้มีการช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน  หรือไม่สามารถช่วย

เหลือตนเองได้ในการดำรงชีวิต และมีการสงเคราะห์ ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส เด็กแรก

เกิด  ให้ได้รับสวัสดิการตามสิทธิและตามระเบียบของทางราชการอย่างทั่วถึง

                5.3  จัดให้มีการอบรมเพื่อพัฒนาทักษะในการประกอบอาชีพ เพื่อจะได้มีความรู้

ความสามารถมาใช้ในการประกอบอาชีพและมีรายได้ในการดูแลตัวเองและครอบครัว

                5.4  ส่งเสริมด้านอาชีพ เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนให้แก่ประชาชน

 

 

6.  ด้านการบริหาร

 

             6.1  ส่งเสริมสนับสนุนปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น

ประมุขโดยมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนได้แก่ ร่วมคิดร่วมวางแผน ร่วมทำ และร่วมรับผล

ประโยชน์

             6.2  บูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานราชการ และเอกชนในการแก้ไขปัญหา

และพัฒนาท้องถิ่นร่วมกัน

             6.3  นำการบริหารงานภาครัฐแนวใหม่มาใช้ พัฒนาระบบงาน และสมรรถนะของ

บุคลากรทุกระดับ มีการจัดระบบการบริหาร การลดขั้นตอนในการปฎิบัติงาน เพิ่มขีดความ

สามารถในการปฎิบัติราชการและการบริการประชาชนให้มีประสิทธิภาพประหยัด ถูกต้อง

และรวดเร็ว เพื่อให้ประชาชนเกิดความพึงพอใจเมื่อมารับบริการ

             6.4  การบริหารงานให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาของรัฐจังหวัดและปฎิบัติ

ตามแนว ทางนโยบายของรัฐบาลเพื่อแก้ไขปัญหาและความต้องการของประชาชนให้มีการ

พัฒนาอย่างต่อเนื่อง

             6.5  ส่งเสริมให้บุคลากรนำหลักธรรมาภิบาลและการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี มา

ใช้ในการ ปฎิบัติราชการ ประกอบด้วย หลักนิติธรรมหลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักการ

มีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ และหลักความคุ้มค่า

             6.6  ระบบการให้บริการประชาชนโดยส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของผู้บริหาร

สมาชิกสภา พนักงานเทศบาล ลูกจ้าง พนักงานจ้างรวมถึงผู้นำชุมชนและกรรมการชุมชน

ปฎิบัติหน้าที่อย่างเต็มความสามารถบริการประชาชนด้วยความยิ้มแย้มแจ่มใสเป็นกันเอง

เป็นเทศบาลยิ้ม

             6.7  พัฒนาระบบสื่อสารประชาสัมพันธ์ การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารให้แก่ประชาชน

การจัดซื้อ จัดจ้าง การคลัง การให้บริการด้านต่างๆของเทศบาล กฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ

พร้อมทั้งข้อมูลข่าวสารนั้นๆที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน

             6.8  พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้  ความสามารถต่อเนื่องตลอดเวลา เพื่อนำมาพัฒนา

ระบบงานการให้บริการ  นำองค์กรไปสู่จุดหมาย

 

                       นำมาปฎิบัติตามภารกิจของเทศบาล  ภายใต้ความร่วมมือ

ของผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ทั้งจากฝ่ายสภาเทศบาลตำบลสีดา 

ฝ่ายบริหาร  พนักงานเทศบาล ลูกจ้าง  พนักงานจ้าง  รวมถึง

ประชาชนผู้มีส่วนร่วมโดยตรง  ที่จะร่วมสนับสนุนการทำงานของ

เทศบาล ให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน กระผมและคณะฯมีความตั้งใจที่

จะพัฒนาเทศบาลตำบลสีดา ให้มีความเจริญก้าวหน้า และเกิดผล

ในทางปฎิบัติ เกิดประโยชน์สุขอย่างแท้จริงต่อประชาชนสืบไป

 

พันธกิจเทศบาล

พันธกิจเทศบาล

 

 พันธกิจการพัฒนาเทศบาลตำบลสีดา

 

     1. การแก้ไขปัญหาสังคมและความเดือดร้อนของประชาชน

 

     2. จัดให้มีและบำรุงรักษาถนน ทางระบายน้ำ ประปา ไฟฟ้า และโทรศัพท์

 

     3. บำรุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพของประชาชนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง

 

     4. จัดให้มีการกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล

 

     5. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในด้านการพัฒนาการเมือง  การบริหาร  และจัดให้มีการบริหารงานของเทศบาลตำบล

สีดาอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

ยุทธศาสตร์การพัฒนา

 

ยุทธศาสตร์และการพัฒนาในช่วงสามปี

 1. ยุทธศาสตร์การการแก้ไขปัญหาสังคมและความเดือดร้อนของประชาชน

    1.1 จัดให้มีการดูแลด้านสุขภาพอนามัยของประชาชนอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ

    1.2 ส่งเสริมการศึกษา กีฬา และวัฒนธรรมในชุมชน

    1.3 ส่งเสริมกิจกรรมครอบครัวให้มีความอบอุ่นและปลอด ยาเสพติด


2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานครบถ้วน
    2.1 ก่อสร้าง ปรับปรุง บำรุงรักษาถนน ทางเท้า ทางระบายน้ำ สะพาน

    2.2 พัฒนาระบบจราจรและอุปกรณ์การจัดการจราจร

    2.3 พัฒนาระบบประปาให้มีประสิทธิภาพ

    2.4 จัดให้มีระบบไฟฟ้าและโทรศัพท์สาธารณะภายในชุมชน


3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการเกษตรเศรษฐกิจดี
    3.1 ประชากรในวัยทำงาน (18-60ปี) มีงานทำ

    3.2 ส่งเสริมให้ประชาชนภายในครัวเรือนมีรายได้มากกว่ารายจ่าย

    3.3 การสร้างตลาดสด;ตลาดนัดการเกษตรฯลฯ

    3.4 ส่งเสริมการประกอบอาชีพตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง

    3.5 ส่งเสริมและสนับมนุนกลุ่มอาชีพ,กลุ่มสตรี,กลุ่มเยาวชน,กลุ่มพลังต่างๆ

    3.6 จัดสร้างโรงงานผลิตน้ำดื่มสะอาดราคาถูกเพื่อบริการประชาชน

 

4. ยุทธศาสตร์การพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวและสิ่งแงดล้อม
    4.1 จัดให้มีถังรองรับขยะ และสถานที่กำจัดขยะตามหลักสุขาภิบาล

    4.2 การกำจัดสิ่งปฏิกูลอย่างถูกหลักสุขลักษณะ

    4.3 การควบคุมกิจการค้าอันเป็นที่น่ารังเกียจ

    4.4 การสร้างจิตสำนึกให้เยาวชน,ประชาชนร่วมกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

    4.5 การลดมลภาวะทางอากาศ


5. ยุทธศาสตร์การพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนและการบริหารจัดการอย่างมีคุณภาพ
    5.1 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน

    5.2 ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกิจการของเทศบาล

    5.3 การพัฒนาประสิทธิภาพบุคลากร

    5.4 ปรับปรุงและพัฒนารายได้

    5.5 ปรับปรุงและพัฒนาเครื่องมือเครื่องใช้และสถานที่ปฏิบัติงาน

    5.6 การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย